นโยบายเครดิตการ์ดให้เกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือในเรื่องการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของเกษตรกร โดยบัตรเครดิตดังกล่าว สามารถนำไปซื้อพันธุ์ข้าวเปลือก ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์ทางการเกษตร รวมทั้งการประกันราคาผลผลิต เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตก็สามารถนำเงินไปชำระได้ในภายหลัง
พิจารณาเบื้องต้น นโยบายนี้เป็นที่ใหม่สำหรับคนไทย แต่สำหรับเกษตรกรอินเดียมีบัตรเครดิตใช้มานานแล้ว โดยใช้ชื่อว่า “Kisan Credit Card” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541-2542 จุดประสงค์เพื่อช่วยเกษตรกรในการเข้าถึงแหล่งทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในทางการเงิน ให้เกษตรกรสามารถ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต ลงทุนในกิจกรรมทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ Kisan Credit Card เช่น เบิกได้ 15,000 รูปีย์หรือประมาณ 11,250 บาท และจาก ATM สามารถรูดได้ 25,000 รูปีย์ หรือประมาณ 18,750 บาท โดยบัตรมีอายุ 3 ปี สามารถได้รับเครดิตเพิ่มหรือลดหรือถูกยกเลิกได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของเกษตรกรในการหารายได้ และต้องชำระเงินคืนหลังขายผลผลิตได้ เป็นต้น
พิจารณาเบื้องต้น นโยบายนี้เป็นที่ใหม่สำหรับคนไทย แต่สำหรับเกษตรกรอินเดียมีบัตรเครดิตใช้มานานแล้ว โดยใช้ชื่อว่า “Kisan Credit Card” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541-2542 จุดประสงค์เพื่อช่วยเกษตรกรในการเข้าถึงแหล่งทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในทางการเงิน ให้เกษตรกรสามารถ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต ลงทุนในกิจกรรมทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ Kisan Credit Card เช่น เบิกได้ 15,000 รูปีย์หรือประมาณ 11,250 บาท และจาก ATM สามารถรูดได้ 25,000 รูปีย์ หรือประมาณ 18,750 บาท โดยบัตรมีอายุ 3 ปี สามารถได้รับเครดิตเพิ่มหรือลดหรือถูกยกเลิกได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของเกษตรกรในการหารายได้ และต้องชำระเงินคืนหลังขายผลผลิตได้ เป็นต้น
ปัจจุบันเกษตรกร 66.56 ล้านคนทั่วอินเดียมี Kisan Credit Card โดยในปี พ.ศ. 2548 ออกบัตรไป 8 ล้านใบ ปี พ.ศ. 2549 ออกบัตรไป 7.4 ล้านใบ 5 ปีหลัง (ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545-2550) ออกบัตรเฉลี่ยปีละ 9 ล้านใบ
หากพิจารณาถึงความสำเร็จของอินเดียต่อ Kisan Credit Card ถือว่าประสบความสำเร็จน่าพอใจ (ในแง่การช่วยเหลือเกษตรกร เพราะสามารถช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงสินเชื่อได้ทันท่วงที ครอบคลุมเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรที่ใช้ Kisan Credit Card ผลการดำเนินงานดีกว่าเกษตรกรที่ไม่ใช้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาในเรื่องหนี้เสียเป็นปัญหาหลักของนโยบายดังกล่าว (Kallur, 2005) จากการศึกษาเกษตรกร 150 คน 7 หมู่บ้าน ปี 2547-2548 ในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) พบว่า อัตราการชำระหนี้อยู่ที่ร้อยละ 35 เท่านั้น
หากพิจารณาถึงความสำเร็จของอินเดียต่อ Kisan Credit Card ถือว่าประสบความสำเร็จน่าพอใจ (ในแง่การช่วยเหลือเกษตรกร เพราะสามารถช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงสินเชื่อได้ทันท่วงที ครอบคลุมเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรที่ใช้ Kisan Credit Card ผลการดำเนินงานดีกว่าเกษตรกรที่ไม่ใช้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาในเรื่องหนี้เสียเป็นปัญหาหลักของนโยบายดังกล่าว (Kallur, 2005) จากการศึกษาเกษตรกร 150 คน 7 หมู่บ้าน ปี 2547-2548 ในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) พบว่า อัตราการชำระหนี้อยู่ที่ร้อยละ 35 เท่านั้น
ซึ่งประเทศไทย โดยพรรคเพื่อไทย ก็ได้ออกนโยบาย บัตรเครดิตเกษตรกร ออกมาแล้ว โดย ธ.ก.ส เป็นผู้ดำเนินการ ประกาศความพร้อมออกบัตรสินเชื่อเกษตรกร แจกจ่ายให้เกษตรกร 2 ล้านรายพร้อมกันในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยใช้งบประมาณดำเนินการ 2-3หมื่นล้านบาท ซึ่งในตอนนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นโครงการอยู่ แล้วสักช่วงเวลาหนึ่งเราคงจะได้รู้กันว่า บัตรเครดิตเกษตรกร นี้จะช่วยให้ความเป็นอยู่ของของเกษตรกรดีขึ้นหรือไม่อย่างไร